สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของ อบต.จางเหนือ

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล

ตำบลจางเหนือ   อำเภอแม่เมาะ   จังหวัดลำปาง   ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอแม่เมาะ   ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   ประมาณ  42  กิโลเมตร   และอยู่ห่างจากจังหวัดลำปาง   ประมาณ  80  กิโลเมตร   โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ      ติดต่อกับ       ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
ทิศใต้         ติดต่อกับ       ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ       ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่
ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ       ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของตำบลจางเหนือ  มีลักษณะเป็นที่ราบสูงแถบเชิงเขาดอยหม่นสูง  ดอยผาขวาง    หมู่ที่  4  และ  หมู่ที่  5   เป็นพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ป่าแม่จาง  (ตอนขุน)  และมีป่าละเมาะบางส่วน  โดยมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ  เช่น  ห้วยแม่หาด  ห้วยแม่ตีบ  ห้วยแม่เผียน  เป็นต้น     ตำบลจางเหนือมีพื้นที่ประมาณ  384  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณร้อยละ  44.63  ของพื้นที่  อำเภอแม่เมาะ   (อำเภอแม่เมาะ  มีพื้นที่ประมาณ    860.44    ตารางกิโลเมตร)

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของตำบลจางเหนือ  ประกอบด้วย ฤดูกาลต่าง ๆ  แบ่งออกเป็น   3   ฤดูกาล   ดังนี้

  • ฤดูหนาว          จะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะมีอากาศหนาวเย็น  ประมาณช่วงเดือนธันวาคม และ เดือนมกราคม   อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ  17 – 19   องศา-เซลเซียส
  • ฤดูร้อน จะเริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ   37 – 40   องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน   จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งฝนจะตกชุกมากในช่วงเดือนสิงหาคม  และเดือนกันยายน

ลักษณะของดิน

ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว และดินปนทราย พื้นราบเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว

ลักษณะของแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภค

แหล่งน้ำธรรมชาติ        

  • ลำเหมือง จำนวน 30 แห่ง
  • ลำห้วย จำนวน 13 แห่ง
  • หนองน้ำสาธารณะ จำนวน 5 แห่ง
  • ลำน้ำ จำนวน  2 แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

  • ฝายกั้นน้ำ จำนวน 12 แห่ง
  • บ่อน้ำตื้น จำนวน 90% ของพื้นที่
  • บ่อโยธา จำนวน 3 แห่ง
  • ประปาหมู่บ้าน จำนวน 6 แห่ง

ลักษณะของไม้และป่าไม้

ในพื้นที่ส่วนใหญ่มีป่าดงดิบ และมีป่าชุมชนทุกหมู่บ้าน

ด้านการเมืองการปกครอง

เขตการปกครอง

ตำบลจางเหนือ ประกอบด้วยจำนวนหมู่บ้าน  7  หมู่บ้าน โดย 7  หมู่บ้านเป็นคนไทยพื้นราบและภูเขาเผ่าอาข่าบางส่วนของบ้านทาน หมู่ 4

การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 7 หมู่บ้าน หากมีการเลือกตั้งในครั้งหน้า จะมี ผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 2 คน 7 หมู่บ้าน รวมเป็น 14 คน

ประชากร

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

ประชากรทั้งสิ้น  จำนวน  5,458 คน แยกเป็นชาย  2,758 คน หญิง  2,700 คน โดยมีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย   15   คน / ตารางกิโลเมตร

หมู่ที่ หมู่บ้าน ประชากร รวม (คน) หลังคาเรือน
ชาย (คน) หญิง (คน)
1 ปงแท่น 262 245 507 155
2 นาแช่ 484 498 982 331
3 กอรวก 342 357 699 214
4 ทาน 518 533 1,051 320
5 วังตม 446 397 843 282
6 นาสันติราษฎร์ 399 374 773 193
7 จางเหนือพัฒนา 307 296 603 157
รวม 2,758 2,700 5,458 1,652

ช่วงอายุและจำนวนประชากร

           ชาย       2,758    คน                                        หญิง           2,700     คน

เด็ก (ทารก – 6 ปี)                 196     คน             เด็ก (ทารก – 6 ปี)        158     คน

เด็กโต (7 – 12 ปี)                 151     คน              เด็กโต (7 – 12 ปี)        164     คน

วัยรุ่น (13 – 17 ปี)               181     คน                วัยรุ่น (13 – 17 ปี)       180     คน

ผู้ใหญ่ (18 – 60 ปี)             1,825     คน            ผู้ใหญ่ (18 – 60 ปี)     1,828    คน

คนชรา (60 ปีขี้นไป)               405     คน           คนชรา (60 ปีขี้นไป)      370     คน

สภาพทางสังคม

การศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา     5    แห่ง ได้แก่

  1. โรงเรียนบ้านปงแท่น                                 จำนวนนักเรียนประมาณ                13    คน
  2. โรงเรียนบ้านนาแช่                                   จำนวนนักเรียนประมาณ                64    คน
  3. โรงเรียนกอรวกพิทยาสรรค์                   จำนวนนักเรียนประมาณ              148     คน

(ประถมศึกษา-มัธยมต้น)

  1. โรงเรียนบ้านทาน   จำนวนนักเรียนประมาณ         154    คน
  2. โรงเรียนบ้านวังตม จำนวนนักเรียนประมาณ          60   คน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน  5  แห่ง ได้แก่

  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปงแท่น จำนวนนักเรียนประมาณ                 5   คน
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ้านนาแช่ จำนวนนักเรียนประมาณ            15   คน
  3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกอรวก จำนวนนักเรียนประมาณ                 30   คน
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทาน จำนวนนักเรียนประมาณ                     22   คน
  5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังตม จำนวนนักเรียนประมาณ                   12   คน

ในพื้นที่มีการศึกษานอกระบบ(กศน.จางเหนือ)  1  แห่ง

สาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล     จำนวน  2  แห่ง ได้แก่

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาแช่
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทาน

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน  7  แห่ง

อาชญากรรม

ยาเสพติด

ปัญหายาเสพติด มีพื้นที่เฝ้าระวัง คือ บ้านนาแช่ หมู่ 2 และบ้านทาน หมู่ 4

การสังคมสงเคราะห์

องค์การบริหารส่วนตำบลจางเหนือได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้

(1) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์

(2) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

(3) ประสานการทำบัตรผู้พิการ

 

ระบบบริการพื้นฐาน

การคมนาคมขนส่ง

มีถนนลาดยางแอลฟัลท์ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนลูกรัง

หมู่ที่

จำนวน
สายทางรวม (สาย)
ถนนลาดยางแอสฟัลส์(สาย) ถนนคอนกรีต
เสริมเหล็ก(สาย)
ถนนลูกรัง(สาย)
1 20 2 17 1
2 48 4 32 12
3 34 4 26 4
4 21 2 14 5
5 23 1 16 6
6 33 5 25 3
7 25 2 20 3
รวม 204 20 150 34
ถนนเชื่อมระหว่างตำบล 1
ถนนสายหลักปงแท่น-นาแช่ 1

         

การไฟฟ้า

มีระบบไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน  จำนวน  1,652   ครัวเรือน

การประปา

มีระบบประปาหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน

โทรศัพท์

ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่

ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

ระบบเศรษฐกิจ

การเกษตร

ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง

 การประมง

ในเขต อบต. ไม่มีการประมง

การปศุสัตว์

เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น  การเลี้ยงไก่    เป็ด โค  สุกร  และกระบือ

การบริการ

–  ปั๊มน้ำมัน      ประเภท ง                               จำนวน            2     แห่ง

–  โรงสีข้าวขนาดกลาง                                  จำนวน          11     แห่ง

–  ร้านขายของชำ                                           จำนวน         50     แห่ง

–  ร้านเสริมสวย/ตัดผม                                  จำนวน            3     แห่ง

–  อู่ซ่อมรถ                                                     จำนวน            4     แห่ง

–  ร้านจำหน่ายปุ๋ยเคมี                                   จำนวน            1      แห่ง

–  ร้านอินเตอร์เน็ต                                         จำนวน            1      แห่ง

–  ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง                           จำนวน             3    แห่ง

–  บ้านเช่า                                                      จำนวน            4      แห่ง

–  ตลาดสด                                                     จำนวน            1     แห่ง

–  โรงน้ำดื่ม                                                    จำนวน            1      แห่ง

–  ร้านขายปุ๋ยและพืชผลทางการเกษตร       จำนวน                     1      แห่ง

–  ร้านก๋วยเตี๋ยว                                              จำนวน            8     แห่ง

–  ร้านจำหน่ายเครื่องไฟฟ้า                           จำนวน            1      แห่ง

–  ร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด                      จำนวน             2      แห่ง

–  ร้านจำหน่ายอาหารสด                               จำนวน             2     แห่ง

การท่องเที่ยว

ในเขต อบต. ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว  แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน  เช่น  การจัดงานประเพณีต่างๆ

อุตสาหกรรม

เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้แก่ โรงงานไม้ตะเกียบทุกหมู่บ้าน และโรงสีข้าว

การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

– กลุ่มเลี้ยงหมู                                          1        กลุ่ม

– กลุ่มเลี้ยงไก่                                           1        กลุ่ม

– กลุ่มเลี้ยงกระบือ                                     1        กลุ่ม

– กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้า                              1        กลุ่ม

– กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง                       1        กลุ่ม

– กลุ่มทำตุง                                               1        กลุ่ม

– กลุ่มตัดเย็บกระเป๋า                                 1        กลุ่ม

– กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า                                   1        กลุ่ม

– กลุ่มชาสมุนไพรถั่วดาวอินคา                  1        กลุ่ม

แรงงาน

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชากรอายุระหว่าง  25 –  50 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่  ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม  บริษัท  ห้างร้านใหญ่ๆ  เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ

เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

หมู่บ้าน/ชุมชน บ้านปงแท่น หมู่ที่ 1 ตำบลจางเหนือ   อบต.จางเหนือ  อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง  จำนวนประชากรทั้งหมด 507 คน    ชาย 262  คน หญิง 245 คน

ครัวเรือนทั้งหมด 155  พื้นที่ทั้งหมด  753 ไร่

หมู่บ้าน/ชุมชน บ้านนาแช่ หมู่ที่ 2 ตำบลจางเหนือ   อบต.จางเหนือ  อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวนประชากรทั้งหมด  982 คน    ชาย 484 คน หญิง  498 คน

ครัวเรือนทั้งหมด  33  พื้นที่ทั้งหมด  7,001.75 ไร่

หมู่บ้าน/ชุมชน บ้านกอรวก หมู่ที่ 3 ตำบลจางเหนือ   อบต.จางเหนือ  อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวนประชากรทั้งหมด   699 คน    ชาย 342 คน หญิง 357 คน

ครัวเรือนทั้งหมด 214  พื้นที่ทั้งหมด  2,715.25 ไร่

หมู่บ้าน/ชุมชน บ้านทาน หมู่ที่ 4 ตำบลจางเหนือ   อบต.จางเหนือ  อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวนประชากรทั้งหมด  1,051 คน    ชาย 518 คน หญิง 533 คน

ครัวเรือนทั้งหมด 320  พื้นที่ทั้งหมด  6,781.50 ไร่

หมู่บ้าน/ชุมชน  บ้านวังตม หมู่ที่ 5 ตำบลจางเหนือ   อบต.จางเหนือ  อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง  จำนวนประชากรทั้งหมด 843 คน    ชาย  446 คน หญิง 397 คน

ครัวเรือนทั้งหมด  282  พื้นที่ทั้งหมด  7,156.50 ไร่

หมู่บ้าน/ชุมชน บ้านนาสันติราษฎร์ หมู่ที่ 6 ตำบลจางเหนือ   อบต.จางเหนือ  อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวนประชากรทั้งหมด  773 คน    ชาย 399  หญิง 374 คน

ครัวเรือนทั้งหมด 193 พื้นที่ทั้งหมด 3,506.75 ไร่

หมู่บ้าน/ชุมชน บ้านจางเหนือพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลจางเหนือ   อบต.จางเหนือ  อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง  จำนวนประชากรทั้งหมด 603 คน    ชาย 307  คน หญิง  296 คน

ครัวเรือนทั้งหมด 157 พื้นที่ทั้งหมด 2,436 ไร่

ข้อมูลด้านการเกษตร

ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และไร่มันสำปะหลัง

 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำการเกษตร

แหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำห้วยจาง ห้วยแม่เผียน ห้วยแม่ตีบ

ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)

มีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 7 หมู่บ้าน

ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

การนับถือศาสนา

ประชาชน หมู่ที่ 1 , หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 3, หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 นับถือศาสนาพุทธ

ประชาชน หมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 5 นับถือทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์

โดยมีข้อมูลศาสนสถาน ดังนี้

–  วัด / สำนักสงฆ์                               จำนวน          7       แห่ง

–  ศาลเจ้าพ่อ                                      จำนวน         15       แห่ง

–  โบสถ์คริสต์                                     จำนวน          2       แห่ง

ประเพณีและงานประจำปี

ประเพณีเดือน 5 เป็ง ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

ประเพณีเดือน 6 เป็ง ช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี

ประเพณีสงกรานต์และประเพณีสรงน้ำดอยพระบาท ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี

ประเพณีลอยกระทง ช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คือ ตุงล้านนา

ภาษาถิ่น คือ ภาษาพื้นเมือง  ภาษาอาข่า ภาษาอีสาน

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

ทรัพยากรธรรมชาติ

น้ำ

แหล่งน้ำธรรมชาติ        

–   ลำเหมือง                     จำนวน           30      แห่ง

–   ลำห้วย                        จำนวน           13      แห่ง

–   หนองน้ำสาธารณะ      จำนวน             5      แห่ง

–   ลำน้ำ                           จำนวน             2      แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

–   ฝายกั้นน้ำ                     จำนวน           12      แห่ง

–   บ่อน้ำตื้น                      จำนวน            90 %   ของพื้นที่

–   บ่อโยธา                       จำนวน             3      แห่ง

–   ประปาหมู่บ้าน              จำนวน             6      แห่ง

ป่าไม้

ในพื้นที่ยังมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์

ภูเขา

ในพื้นที่เป็นที่ราบระหว่างภูเขา

คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคลออนไลน์

ขอบคุณที่ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล

Close Window